messager
local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์การพัฒนา
1.Visi Pembangunan Organisasi Kelurahan Tako Vision (Visi) “Masyarakat memiliki kualitas hidup yang baik. memiliki pendapatan lebih Mengembangkan sumber air untuk konsumsi dan untuk pertanian menjaga keseimbangan lingkungan memimpin masyarakat menjadi kuat” Misi _ Menjadi organisasi dengan kinerja tinggi dalam bekerja pembangunan daerah dalam segala dimensi dan mengembangkan sistem manajemen organisasi yang efisien 3. Adanya rencana pembangunan daerah yang sejalan dengan rencana strategis nasional. di tingkat provinsi dan memenuhi kebutuhan masyarakat melalui proses partisipasi dari kelompok organisasi sektor publik atau mitra jaringan 4. Mengembangkan administrasi kepegawaian. dengan meningkatkan kapasitas aparatur Organisasi Kelurahan Tako Untuk bekerja secara profesional . untuk menjadi efektif 6. Mempromosikan dan mengembangkan infrastruktur, transportasi, dan utilitas umum. 7. Pengembangan teknologi informasi untuk layanan dan manajemen untuk membuatnya lebih cepat, lebih cepat dan lebih efisien 8. Mempromosikan dan mendukung manajemen sumber daya. Alam dan lingkungan yang lestari 9. Pengembangan dan peningkatan pendidikan, baik formal maupun informal, serta kearifan lokal. 10. Mempromosikan dan mengkoordinasikan pembangunan dengan organisasi publik dan swasta, dengan mengutamakan masyarakat lokal 11. Mengintegrasikan pelayanan publik untuk mencapai kepuasan masyarakat dan masyarakat lokal 12. Meningkatkan kesehatan masyarakat untuk hidup bahagia di masyarakat 10. Tujuan untuk perkembangan 1. Memecahkan masalah kemiskinan rakyat harus menyelesaikan masalah hutang rakyat. Mempromosikan karir bagi masyarakat untuk mendapatkan penghasilan yang cukup untuk mata pencaharian mereka. Merevitalisasi tata kehidupan masyarakat sesuai falsafah ekonomi berkecukupan pertanian terpadu pengembangan sumber daya air kecil Pengembangan pekerjaan 3. Meningkatkan keselamatan jiwa dan harta benda masyarakat 4. Memelihara sarana dan prasarana umum 5. Menjaga sumber daya alam dan mencegah pencemaran lingkungan 6. Mengembalikan seni dan budaya daerah yang baik 7. Meningkatkan kesejahteraan, olah raga, pendidikan, dan kebersihan yang lebih baik

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ


ลักษณะ
ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่สวนใหญ่เป็นที่ราบสูง สลับกับที่ดอน ความสูงระดับน้ำทะเลอยู่ระหว่าง 168 - 182 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นที่ราบสูง 75 % และที่ดอน 25 % ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่อาศัยน้ำฝนทั้งหมด ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดูกาล ได้แก่ - ฤดูร้อน ช่วงเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนมิถุนายน อากาศร้อนจัด มีความแห้งแล้งสูง - ฤดูฝน ช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึงปลายเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำฝนน้อยและมีปัญหาฝนทิ้งช่วงทำให้ส่งผลต่อปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร - ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวและลมกันโชกแรง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 28.60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในฤดูร้อนประมาณ 32.16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 18.46 องศาเซลเซียส อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลงิ้ว , ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลห้วยแถลง,ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลงจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลทับสวาย อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลหมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านและประชากร จำนวนหมู่บ้าน มี 10 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มหมู่บ้าน 10 หมู่บ้านโดยแยกพื้นการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านตะโก ผู้ปกครอง นายเดช บุพรัง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านหนองกก ผู้ปกครอง นายกระแส โพธิสาร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านโคกซาง ผู้ปกครอง นางสุรัตน์ เหมือนสันเทียะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านโนนแก้ว ผู้ปกครอง นายอัครเดช ศรีสุระ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโนนแฝก ผู้ปกครอง นายซีมอน ชินวงค์ กำนัน หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่ ผู้ปกครอง นายหนูค้ำ ชัยรินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านหนองโน ผู้ปกครอง นายชัยนันต์ โพธิ์ชัย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านเอื้ออารี ผู้ปกครอง นายจุล ละมุล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยก ผู้ปกครอง นายอิทธิฤทธิ์ ล่ำสันต์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านตะโกสามัคคี ผู้ปกครอง นายสง่า ดอกไธสง ผู้ใหญ่บ้าน ประชากร ประชากรทั้งสิ้น 4,382 คน แยกเป็นชาย 2,210 คน หญิง 2,172 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 122 คน / ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)

ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ธ.ค.47,ธ.ค.48,ธ.ค.49,มิ.ย.50,พ.ค.51) สถิติจำนวนประชากร ต.ตะโก


ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ธ.ค.47,ธ.ค.48,ธ.ค.49,มิ.ย.50,พ.ค.51) สถิติครัวเรือน ต.ตะโก


ที่มา : อบต.ตะโก


สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไปมีการเลี้ยงสัตว์บ้าง เช่น ไก่ เป็ด สุกร โดยคิดเป็นร้อยละ ได้ดังนี้ - เกษตรกรรม(รวมทั้งปศุสัตว์) 86 เปอร์เซ็นต์ - รับจ้างทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ - รับราชการ 5 เปอร์เซ็นต์ - ค้าขาย 2 เปอร์เซ็นต์ - อื่นๆ 2 เปอร์เซ็นต์ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - กลุ่มออมทรัพย์/สวัสดิการ/กองทุน 26 กลุ่ม - กลุ่มอาชีพ 15 กลุ่ม - ร้านค้าชุมชน 5 แห่ง - ปั้มน้ำมันชุมชน 1 แห่ง - โรงสีชุมชน 1 แห่ง - โรงสีขนาดเล็ก 12 แห่ง - ร้านค้าต่างๆ 21 แห่ง

สภาพสังคม
การศึกษา 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 2 แห่ง 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโก 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองไผ่ 2. โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง 1. โรงเรียนบ้านตะโก 2. โรงเรียนบ้านหนองไผ่ 3. โรงเรียนเทเรซาอุปถมภ์ 3. มัธยมศึกษาศึกษา 1 แห่ง 1. โรงเรียนเทเรซาอุปถัมภ์ สถาบันและองค์การทางศาสนา ประชาชนในตำบลตะโก จะนับถือ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ โดยนับถือศาสนาคริสต์ 2 หมู่บ้าน คือบ้านโนนแก้วและบ้านโนนแฝก นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถาน คือ วัด 3 แห่ง โบสถ์ 2 แห่ง ได้แก่ คือ 1. วัดบ้านชัยราษฏร์ประดิษฐ์ ตั้งอยู่ที่บ้านตะโก หมู่ที่ 1 (พระอาจารย์ทวี กิตติทโร) 2. วัดบ้านหนองไผ่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 6 (พระครูเวฬุ วนานุรักษ์) 3. วัดบ้านโคกซาง ตั้งอยู่ที่บ้านโคกซาง หมู่ที่ 3 (พระถาวร นฐาจาโร) 4. วัดนักบุญเทเรซา ตั้งอยู่ที่บ้านโนนแก้ว หมู่ที่ 4 (บาทหลวงประสิทธิ์ ใหม่เพียรวงค์) 5. วัดนักบุญเปรโต ตั้งอยู่ที่บ้านโนนแฝก หมู่ที่ 5 (บาทหลวงสมดุล วาปีทะ) ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 3,103 คน คิดเป็นร้อยละ 72.41 ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ จำนวน 1,182 คน คิดเป็นร้อยละ 27.59 การสาธารณสุข – สถานีอนามัยประจำตำบล (ตั้งอยู่ในบ้านตะโกสามัคคีหมู่ที่ 10) 1 แห่ง – อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน – ไฟฟ้าแสงสว่างทุกหมู่

การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม ก. ถนนลาดยาง เป็นของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) ผ่านหมู่ที่ 1,10,8,4 ,และ 5 เป็นระยะทางประมาณ 5,000 เมตร โดยเชื่อมตำบลทับสวายและตำบลงิ้ว ข. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ในทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลตะโกมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกหมู่บ้าน ค. ถนนเชื่อมหมู่บ้าน Ø หมู่ที่ 1-6-2 เป็นถนนหินคลุก ระยะทางยาว 2,500 เมตร Ø หมู่ที่ 7-9 เป็นถนนหินคลุก ระยะทางประมาณ 3,000 เมตร Ø หมู่ที่ 9-3 เป็นถนนหินลูกรัง ประมาณ 4,000 เมตร Ø หมู่ที่ 7-6-2 เป็นถนนหินคลุก ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร Ø หมู่ที่ 4-8 เป็นถนนหินลูกรัง ประมาณ 500 เมตร การโทรคมนาคม - โทรศัพท์สาธารณะ 10 แห่ง (ใช้ได้บางแห่ง) - หอกระจ่ายข่าวประจำหมู่บ้าน 10 แห่ง การไฟฟ้า – จำนวน 10 หมู่บ้าน ประชากรที่มีไฟฟ้าใช้ ประมาณ 95 % แหล่งน้ำธรรมชาติ 1. ลำห้วย -ลำห้วยตะโก ไหลจากตำบลทับสวายเข้าสู่ตำบลตะโกที่หมู่ที่ 1,4,5 มีระยะทางประมาณ 5,500 เมตรมีน้ำตลอดปี (ลำห้วยหลัก) -ลำกักเก็บน้ำหนองกก หมู่ที่ 2 อยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองกก ระยะทาง 1,445 เมตรมีน้ำตลอดปี -ลำห้วยตะเคียน หมู่ที่ 3 ตำบลตะโก อยู่ในเขตพื้นที่บ้านโคกซาง ระยะทางประมาณ 1,5000 เมตรมีน้ำตลอดปี -ลำห้วยตะเกียบ หมู่ที่ 3 ตำบลตะโก อยู่ในเขตพื้นที่บ้านโคกซาง ระยะทางประมาณ 1,5000 เมตรมีน้ำตลอดปี -ลำห้วยหนองไผ่ มีระยะทางประมาณ 1,500 เมตร อยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 6 มีปริมาณน้ำช่วงเดือน สิงหาคม - เดือนธันวาคม ของทุกปี (มีสภาพตื้นเขิน) -ลำห้วยเอื้ออารี มีระยะทางประมาณ 1,500 เมตร อยู่ในเขตพื้นที่บ้านเอื้ออารี หมู่ที่ 8 มีปริมาณน้ำน้อยไม่ตลอดปี -ลำห้วยติ้ว มีระยะทางประมาณ 1,500 เมตร อยู่ในเขตพื้นที่บ้านเอื้ออารี หมู่ที่ 8 มีปริมาณน้ำน้อยไม่ตลอดปี -ลำห้วยสี่แยก มีระยะทางประมาณ 1,500 เมตร อยู่ในเขตพื้นที่บ้านสี่แยก หมู่ที่ 9 มีปริมาณน้ำน้อยไม่ตลอดปี 2. คลอง -คลองอีสานเขียว มีระยะทางประมาณ 1,000 เมตรอยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองโน หมู่ที่ 7 และบ้านสี่แยก หมู่ 9 มีปริมาณน้ำน้อยไม่ตลอดปี สภาพตื้นเขิน แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 1. ฝาย 7 แห่ง 2. ประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง

ข้อมูลอื่น ๆ
แหล่งน้ำ ที่ดินและการใช้ประโยชน์ -พื้นที่แหล่งน้ำ 1,675 ไร่ คิดเป็น 6.7 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด -พื้นที่ป่าไม้ 525 ไร่ คิดเป็น 2.7 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด -พื้นที่การเกษตร 21,231 ไร่ คิดเป็น 84 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด -พื้นที่อยู่อาศัย 1,569 ไร่ คิดเป็น 6.3 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ – ป่าชุมชน บ้านหนองโน หมู่ 7 มวลชนจัดตั้ง – กลุ่มเยาวชนหมู่บ้าน กลุ่ม – กลุ่มพัฒนาสตรีหมู่บ้าน 10 กลุ่ม – กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ 16 กลุ่ม